บริการอื่น
“รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา”
บริการอื่น ๆ (Our Other Services)
รับเคลียร์ปัญหาประเด็นภาษีต่าง ๆ กับสรรพากร (Receive Clearance Problems, Issues with Tax Revenue)
• ให้ คำปรึกษาด้านบัญชี – ภาษี – วางแผนภาษี ติดต่อเจรจากับเจ้าหน้าที่สรรพากร กรณีมีหนังสือเชิญพบจากกรมสรรพากร
รับปรึกษาด้านบัญชีและภาษี (To Receive Tax Consulting )
• การจัดทำบัญชีรายเดือน ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่กรมสรรพากรยอมรับล่าสุด
• การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี, สมุดบัญชีต่างๆ และรายงานต่างๆ ทางบัญชี ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
• การจัดทำงบการเงินรายเดือนครบถ้วนตามที่กำหมายกำหนด
• การจัดทำรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่น ภงด. 3, 53, 54
• การจัดทำรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือน (ภงด. 1)
• การจัดทำรายงานภาษีซื้อ – ขาย, และยื่น ภ.พ. 30 ตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม
• การจัดทำรายงานภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51), ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภ.ง.ด. 50)
• การให้คำปรึกษาการจัดทำและยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90, 91, 94 สำหรับบุคคลธรรมดา เพื่อพนักงานในบริษัทของท่าน
รับวางระบบบัญชี (Get System Account)
• ทางสำนักงานบัญชี WT Accountancy Consulting & Law ของเราจะมีทีมงานที่มีความชำนาญการ ทางด้านการวางระบบบัญชีให้แก่องค์กร ในการดำเนินธุรกิจของท่าน ให้เป็นไปตามระบบมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่กรมสรรพากรยอมรับล่าสุด เพื่อความเป็นระบบระเบียบด้านบัญชีแก่องค์กรธุรกิจของท่านที่จะก่อให้เกิดสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี
ทำสัญญานิติกรรม (Do a Legal Contract)
• นิติกรรม คือ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ กล่าวโดยย่อ คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น
นิติกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
o นิติกรรมฝ่ายเดียว
o นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย)
ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา
o บุคคลบางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้* ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย
o สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม เว้นแต่จำเป็นในการเลี้ยงชีพเหล่านี้
o คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล
o สำหรับคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่าง เว้นแต่กิจกรรมบางอย่างตาม จะทำได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์
(นิติกรรมสัญญาต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน!! )